E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2557

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

วิจัยเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน  ผู้วิจัย สุมาลี หมวดไธสง

ความมุ่งหมายในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้คือ
     1. เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
     2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับก่อนและหลังการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
     เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิ

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     1.แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
     2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

การดำเนินการทดลอง
      ใช้เวลา 8 สัปดาห์   สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 40 นาที รวม 24 ครั้ง
แผนที่ใช้ในการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กมีทั้งหมด 8 แผน  และทั้งแผนจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่เกิดจากการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่และการหาความสัมพันธ์จากการได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ หรือทดสอบด้วยตนเองทำให้เกิดความรู้ใหม่
สัปดาห์ที่ 1 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้(การพาเด็กออกไปสำรวจสิ่งต่างๆรอบบริเวณโรงเรียน )
สัปดาห์ที่ 2 เรื่องต้นไม้ที่รัก ( การออกไปสำรวจความแตกต่างของใบไม้ ต้นไม้ รอบบริเวณโรงเรียน )
สัปดาห์ที่ 3 เรื่องดอกไม้สดสวย ( สำรวจดอกไม้นานาชนิด รอบบริเวณโรงเรียน )
สัปดาห์ที่ 4 เรื่องผีเสื้อแสนสวย ( การศึกษา อภิปราย ละการสำรวจผีเสื้อรอบบริเวณโรงเรียน )
สัปดาห์ที่ 5 เรื่องหิน ดิน ทราย ( สำรวจคุณลักษณะของหิน ดิน  ทราย รอบบริเวณโรงเรียน )
สัปดาห์ที่ 6 เรื่องอากาศ ( การสำรวจทิศทางของลมเช่น กังหันลม  )
สัปดาห์ที่ 7 เรื่องดวงอาทิตย์ ( กิจกรรมจากแสงและดวงอาทิต เช่น การซักผ้าแล้วนำไปตากแดด )
สัปดาห์ที่ 8 เรื่องต้นกล้วย ( การสำรวจส่วนต่างๆของต้นกล้วยรอบบริเวณโรงเรียน )
แบบทดสอบในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด2ชุดเป็นแบบทดสอบประเภทคำถามที่เป็นรูปเหมือนจริงและรูปเรขาคณิต
-          แบบทดสอบการจัดหมวดหมู่
-          แบบทดสอบการหาความสัมพันธ์

สรุปการวิจัยครั้งนี้พบว่าหลังจากที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมเด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น เนื่องจากการที่เด็กได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติเองโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกต สำรวจ ทดลอง ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการส่งเสริมด้านสติปัญญาของเด็กการที่เด็กได้ทำเองจะทำให้ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความรู้ที่คงทนและอยู่ในความจำระยะยาว







d


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น