บันทึกอนุทิน
Science Experiences Management for Early Chidhood
By. Teacher Jintana Suksamran Science Experiences Management for Early Chidhood
Date : Fri. 7 November 2014
Teaching time 1.10 PM. - 3.40 PM
Knowledge...
- เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย ( เรื่องประโยชน์ )
เริ่มด้วยการทักทายเด็กๆครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง เพลงสวัสดี
ขั้นนำ : ครูถามเด็กถึงประสบการณทเดิมว่าเด็กๆรู้จักกล้วยชนิดใดบ้าง จากนั้นครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงกล้วย จากนั้นถามเด็กๆว่าในเพลงมีกล้วยชนิดใดบ้าง
ข้อเสนอแนะ : อาจารย์ให้กลับไปออกแบบการสอนใหม่ และกลับมานำเสนออีกครั้งในสัปดาห์ต่อไป
กลุ่มที่ 2 หน่วยกบ ( เรื่องลักษณะกบ )
ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงกบ " กบ กบ กบ กบมันมี4ขา ขาหลังกระโดมา มันแลบลิ้น แพลบ แพลบ แพลบ "
ขั้นสอน : 1. ครูนำภาพมาให้เด็กๆดูและให้เด็กบอกชื่อว่่าคือกบอะไร และกบในภาพนี้มีลักษณะอย่างไร เช่น สี ขนาด รูปทรง และส่วนประกอบต่างๆของกบว่ามีอะไรบ้าง
2. ครูนำภาพกบอีก2ชนิดมาให้เด็กดูจากนั้นให้เด็กบอกชื่อของกบและลักษณะของกบทั้ง2ชนิดว่าเป็นอย่างไร ( ครูบันทึกเป็นตาราง )
3. ครูให้เด็กบอกสิ่งที่เหมือนและแตกต่างของกบทั้ง2ชนิด
ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันสรุปสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของกบทั้ง2ชนิด ( หาความสัมพันธ์ )
ข้อเสนอแนะ : เมื่อเด็กตอบคำถามครูต้องจดบันทึกในสิ่งที่เด็กตอบ
กลุ่มที่ 3 หน่วยกะหล่ำปลี ( ประโยชน์/ข้อควรระวัง )
ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงกะหล่ำปลี
ขั้นสอน : ครูนำกะหล่ำปลีมาให้เด็กดู ครูถามเด็กๆถึงประโยชน์ของกะหล่ำปลีว่าสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง จากนั้นครูบอกถึงประโยชน์และข้อควรระวังของกะหล่ำปลี
ข้อเสนอแนะ : ขั้นนำต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาที่จะสอน และการสอนในเรื่องประโยชน์มีเนื้อหาเยอะควรเล่านิทาน ครูต้องใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบ
กลุ่มที่ 4 หน่วยส้ม ( ประโยชน์ในการทำอาหาร )..น้ำส้มคั้น..
ขั้นนำ : 1.ครูนำภาพส้มมาให้เด็กดูและให้เด็กเล่าเป็นนิทาน
2. ครูบอกประโยชน์ของส้ม เช่น อาหาร การแปรรูป
ขั้นสอน : ครูเลือกกิจกรรมในการทำอาหารที่ทำจากส้ม คือ น้ำส้มคั้น ครูทำน้ำส้มคั้นให้เด็กชิม
ข้อเสนอแนะ : การสอนทำCooking ครูต้องแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำให้เด็กรู้ และให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำด้วย
กลุ่มที่ 5 หน่วยมะลิ ( ประโยชน์ในการทำอาหาร )..ดอกมะลิชุบแป้งทอด..
ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันอ่านคำคล้องจอง ดอกมะลิ จากนั้นถามเด็กถึงประโยชน์ของดอกมะลิ
ขั้นสอน : ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำอาหารอจากนั้นสาธิตวิธีการทำและให้เด็กๆส่งตัวแทนมาลองทำกับครู
ข้อเสนอแนะ : การสอนในวันที่ทำCooking ไม่ต้องมีคำคล้องจองสามารถแนะนำอุปกรณ์ได้เลย และเมื่อเด็กกำลังลงมือปฏิบัตครูควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดการสังเกตและตอบคำถาม ในการทำอาหารเด็กทุกคนควรมีส่วนร่วม
กลุ่มที่ 6 หน่วยไก่ ( การดูแลรักษา )
ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง จากนั้นครูถามเด็กว่าในคำคล้องจองมีการดูแลรักษาไก่อย่างไรบ้าง
ขั้นสอน : ครูถามประสบการณ์เดิมเรื่องการดูแลรักษาไก่และมีกิจกรรมเต้นเพลง Chicken Dance
ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันสรุปวิธีการดูแลรักษาไก่และท่องคำคล้องจองอีกครั้ง
กลุ่มที่ 7 หน่วยปลา ( ทำอาหาร )..ปลาทูทอด..
ขั้นนำ : ครูแนะนำอุปกรณ์ที่มช้ในการทำอาหารและข้อควรระวัง
ขั้นสอน : ครูและเด็กๆร่วมกันทอดปลาทู
ข้อเสนอแนะ : ในการประกอบอาหารถ้าวัตถุดิบไม่ควรชิ้นใหญ่เกินไปเพราะจะทำให้เกิดปัญหาในการทำ
Things that need to be developed..
- ควรเลือกเทคนิคที่หลากหลายในการสอน
- เมื่อเด็กตอบคำถามครูต้องจดบันทึกคำตอบของเด็กทุกครั้ง
- หากในเรื่องที่จะสอนมีเนื้อหาเยอะควรเลือกวิธีการสอนให้มีความเหมาะสม
- ในการสอนครูควรใช้คำถามเยอะๆเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดและสังเกต
- การสอนทำอาหารครูต้องแนำนำอุปกรณ์ทุกครั้งและบอกข้อควรระวังให้แก่เด็ก เพื่อความปลอดภัยของตัวเด็กเอง
Techniques for teaching..
- ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตอบ
- เสริมข้อเสนอแนะเสมอเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับใช้
- ให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัตด้วยตนเอง
Evaluation..
- Self : วันนี้ออกไปนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มตนเองได้รับข้อเสนอแนะจากอาจารย์มากมายในการสอน และจดบัทึก เมื่อเพื่อนกลุ่มอื่นออกไปนำเสนอก็ตั้งใจฟังและสนใจมาก
- Friends : เพื่อนๆมีความตั้งใจที่ออกมานำเสนอแผนการสอนของกลุ่มตนเอง เตรียมสื่ออุปกรณ์พร้อมที่จะออกมานำเสนอ สนุกสนานในการทำ Cooking
- Teacher : มีคำแนะนำและข้อเสนอแนะให้นักศึกษามากมายและบอกเทคนิคต่างๆในการสอน อาจารย์มีความใส่นักศึกษามาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น