E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2557

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Amazing of the AIR


   Amazing of the AIR  







บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

 บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ( การทดลอง ตอน โคมลอย ) Click here




  
  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน การทดลองโคมลอย ของ น้องๆโรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์

        การทดลองโคมลอย จากถุงชา ผู้ทดลองได้ถามเด็กๆถึงกลักของโคมลอยว่าทำไมโคมถึงลอยได้แล้วให้เด็กๆลองคิดและตอบคำถามตามความคิดของตนเอง จากนั้นก็เริ่มการทดลอง โดยให้เด็กๆได้ลงมือทดลองเอง ซึ่งในการทดลองนั้นผู้ทดลองมีคำถามต่างๆเพื่อให้เด็กได้คิดอยู่เสมอ  จากนั้นแจกถุงชาให้เด็กๆคนละ1ถุง จากนั้นก็ถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าเราจะจุดไฟตรงไหนโคมถึงจะลอยขึ้นไป เด็กๆแต่ละคนก็ตอบไม่เหมือนกันจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็มาถึงช่วงของการทดลองคือให้เด็กๆจุดไฟในตำแหน่งที่ตัวเองบอก และสังเกตโคมของตนเองว่าลอยหรือไม่  จากนั้นร่วมกันสรุปถึงหลักของโคมลอย 


จากการทดลองนี้ เด็กๆจะได้วิทยาศาสตร์ในเรื่อง การทดลอง ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความคิดเห็น 




วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

 บันทึกอนุทิน  
Science Experiences Management for Early Chidhood
By. Teacher Jintana Suksamran 

Date : Fri. 28 November  2014 
Teaching time 1.10 PM. -  3.40 PM



 Knowledge

    การทำแผ่นพับ " ประสานสัมพันธ์บ้าน-โรงเรียนของ
การทำแผ่นผับเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองหรือแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับเนื้อหาสาระการเรียนของบุตรหลาน เพื่อให้ผู้ปกครองได้ส่งเสริมหรือพัฒนาบุตรหลานทไปในทิศทางเดียวกัน

 หน่วยกบ 



หน่วยกะหล่ำปลี



หน่วยไก่



หน่วยกล้วย



หน่วยดอกมะลิ



หน่วยแปรงสีฟัน



หน่วยผีเสื้อ



หน่วยส้ม


    ประเภทของการใช้คำถาม




  Things that need to be developed
  • การนำวิธีการเขียนแผ่นพับ การสานสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียน ไปใช้เผื่อในอนาคตข้างหน้าต้องทำก็จะพื้นฐานความรู้จากวิชานี้ที่อาจารย์สอนนำไปปรับใช้ 
  • การเขียนแผ่บผับสานสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียนนั้น ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นหลักทางการก็ได้และเราสามารถเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายแต่ต้องเป็นภาษาที่สุภาพ เพื่อให้ผู้ปกคอรงเกิดความสนใจในการอ่าน 
  Techniques for teaching
  • การอธิบาย การยกตังอย่าง การใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาคิดและตอบคำถาม
 Evaluation

Self : มีความสนใจในเรื่องที่เรียนในวันนี้ เนื่องจากคิดว่าในอนาคตข้างหน้าต้องทำแผ่นพับนี้แน่นอน และช่วยเพื่อนทำแผ่นกับของกลุ่มตนเอง

Friends : วันนี้เพื่อนๆดูไม่ค่อยสนใจในการเรียนเท่าที่เคยยังพูดคุยกันส่งเสียงดัง แต่เมื่ออาจารย์มอบหมายงานให้เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจและร่วมมือกันในการทำงานจนงานออกมาเสร็จและเรียบร้อย

Teacher : การเรียนวันนี้อาจารย์ใส่ใจนักศึกษามากเนื่องจากเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายในรายวิชานี้ เนื่องอาจารย์ท่านอยากให้นักศึกษาเก็บเกี่ยวและจดจำความรู้และสามารถนำไปใช้ได้มากที่สุด 





บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 บันทึกอนุทิน  
Science Experiences Management for Early Chidhood
By. Teacher Jintana Suksamran 

Date : Fri. 21 November  2014 
Teaching time 1.10 PM. -  3.40 PM


   Knowledge

  จัดประเภทสื่อวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆประดิษฐ์


 ประเภทแรงดันน้ำ 


 ประเภทแรงโน้มท่วง 


 ประเภทเสียง 


 ประเภทแรงดันอากาศ - ลม 


 ประเภทการสะสมพลังงาน 


เพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู

 วิจัยวิทยาศาสตร์

คนที่ 1 เรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่2 ( ศรีนวล ศรีอ่า )
                  การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นการจัดการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การปฏิบัติด้วยตนเองประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เป็นของจริง รูปภาพต่างๆ ที่น่าสนใจและมีคาถามที่นาไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต การจาแนกประเภท การวัด การลงความเห็น และการหา
ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ


คนที่ 2 เรื่องการพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล2
                เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและนำไปทดสอบวัดผลก่อนและหลังเพื่อเปรียบเทียบคะแนน

คนที่ 3 เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ( สุมาลี หมวดไธสง ) ( Full Text )
                การมุ่งศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่และการหาความสัมพันธ์จากการได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ หรือทดสอบด้วยตนเอง

คนที่ 4 เรื่องพัฒนาศักยภาพพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร 
( วณิชชา สิทธิพล )  (Full Text)
               การจัดให้เด้กปฐมวัยมีประสบการณ์ตรงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรให้เด็กได้ใช้สื่อ อุปกรณ์ ของจริงที่หลากหลาย โดยเน้นทักษะการสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมายข้อมูลและการลงมือปฎิบัติจริงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

คนที่ 5 เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ( ศศิพรรณ สำแดงเดช ) ( Full Text )
                   การที่เด็กได้ฟังนิทานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่าเพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็นการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

  Thai Teacher TV

คนที่ 6 โทรทัศน์ครู ตอนส่องนก ดู VDO
                   ครูพาเด็กๆไปเที่ยวป่าแล้วแบ่งเด็กเป็นกลุ่มให้เด็กออกไปสำรวจนกโดยอยู่ในบริเวณที่ครูกำหนด ให้เด็กๆได้สังเกตสิ่งต่างๆในป่า และนกแต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าว่าเป็นอย่างไรและความความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

คนที่ 7 โทรทัศน์ครู สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ ดู VDO
                   การจัดการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยได้ลงมือทดลองด้วยตนเอง ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ของเด็ก ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น อดทน  รอบคอบ   ความรับผิดชอบ การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ โดยครูมีหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการทดลอง

คนที่ 8 โทรทัศน์ครู จุดประกายนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ดูVDO
               การเรียนรู้เรื่องเสียง การกำเนิดเสียง และการเดินทางของเสียง ผ่านกิจกรรมที่ครูจัดขึ้นภายในห้องและสื่อที่ครูนำมาประกอบการสอนที่เด็กให้ความสนใจ

 กิจกรรม Cooking
           
 Waffle 

                               

Evaluation            

Self : วันนี้รู้สึกตื่นเต้นกับการออกไปนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียนแต่ก็สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับงานวิจัยได้เนื่องจากเตรียมเอกสารและทำความเข้าใจกับวิจัยมาเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนออกมานำเสนอ เพราะเนื่องจากเป็นความรู้ที่เราควรรู้เพื่อนำไปปรับใช้ในการสอนของตนเอง สนุกสนานกับการทำ Cooking พร้อมทั้งได้ความรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์

Friend : เพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูที่น่าสนใจและเ)็นเรื่องที่เรานำมาใช้ได้จริงเพราะเพื่อนบอกถึงวิธีการดำเนินการอย่างละเอียดว่ามีขั้นตอนใดบ้างเพื่อให้เรานำไปใช้ได้ง่ายขึ้น

Teacher : อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการทำCooking มาให้นักศึกษาได้้ครบถ้วนเพื่อนักศึกษาจะได้ลงมือปฏิบัติเอง และยังใช้คำถามต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสังเกต ขณะที่ลงมือปฏิบัติ