Science Experiences Management for Early Childhood
E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2557
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน การทดลองโคมลอย ของ น้องๆโรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์
การทดลองโคมลอย จากถุงชา ผู้ทดลองได้ถามเด็กๆถึงกลักของโคมลอยว่าทำไมโคมถึงลอยได้แล้วให้เด็กๆลองคิดและตอบคำถามตามความคิดของตนเอง จากนั้นก็เริ่มการทดลอง โดยให้เด็กๆได้ลงมือทดลองเอง ซึ่งในการทดลองนั้นผู้ทดลองมีคำถามต่างๆเพื่อให้เด็กได้คิดอยู่เสมอ จากนั้นแจกถุงชาให้เด็กๆคนละ1ถุง จากนั้นก็ถามเด็กๆว่า เด็กๆคิดว่าเราจะจุดไฟตรงไหนโคมถึงจะลอยขึ้นไป เด็กๆแต่ละคนก็ตอบไม่เหมือนกันจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ ก็มาถึงช่วงของการทดลองคือให้เด็กๆจุดไฟในตำแหน่งที่ตัวเองบอก และสังเกตโคมของตนเองว่าลอยหรือไม่ จากนั้นร่วมกันสรุปถึงหลักของโคมลอย
จากการทดลองนี้ เด็กๆจะได้วิทยาศาสตร์ในเรื่อง การทดลอง ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความคิดเห็น
วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน
Science Experiences Management for Early Chidhood
By. Teacher Jintana Suksamran Science Experiences Management for Early Chidhood
Date : Fri. 28 November 2014
Teaching time 1.10 PM. - 3.40 PM
Knowledge
การทำแผ่นพับ " ประสานสัมพันธ์บ้าน-โรงเรียนของ
การทำแผ่นผับเพื่อขอความร่วมมือจากผู้ปกครองหรือแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับเนื้อหาสาระการเรียนของบุตรหลาน เพื่อให้ผู้ปกครองได้ส่งเสริมหรือพัฒนาบุตรหลานทไปในทิศทางเดียวกัน
หน่วยกบ
หน่วยกะหล่ำปลี
หน่วยไก่
หน่วยกล้วย
หน่วยดอกมะลิ
หน่วยแปรงสีฟัน
หน่วยผีเสื้อ
หน่วยส้ม
ประเภทของการใช้คำถาม
Things that need to be developed
- การนำวิธีการเขียนแผ่นพับ การสานสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียน ไปใช้เผื่อในอนาคตข้างหน้าต้องทำก็จะพื้นฐานความรู้จากวิชานี้ที่อาจารย์สอนนำไปปรับใช้
- การเขียนแผ่บผับสานสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียนนั้น ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นหลักทางการก็ได้และเราสามารถเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายแต่ต้องเป็นภาษาที่สุภาพ เพื่อให้ผู้ปกคอรงเกิดความสนใจในการอ่าน
Techniques for teaching
- การอธิบาย การยกตังอย่าง การใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาคิดและตอบคำถาม
Evaluation
Self : มีความสนใจในเรื่องที่เรียนในวันนี้ เนื่องจากคิดว่าในอนาคตข้างหน้าต้องทำแผ่นพับนี้แน่นอน และช่วยเพื่อนทำแผ่นกับของกลุ่มตนเอง
Friends : วันนี้เพื่อนๆดูไม่ค่อยสนใจในการเรียนเท่าที่เคยยังพูดคุยกันส่งเสียงดัง แต่เมื่ออาจารย์มอบหมายงานให้เพื่อนๆต่างก็ตั้งใจและร่วมมือกันในการทำงานจนงานออกมาเสร็จและเรียบร้อย
Teacher : การเรียนวันนี้อาจารย์ใส่ใจนักศึกษามากเนื่องจากเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายในรายวิชานี้ เนื่องอาจารย์ท่านอยากให้นักศึกษาเก็บเกี่ยวและจดจำความรู้และสามารถนำไปใช้ได้มากที่สุด
บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน
Science Experiences Management for Early Chidhood
By. Teacher Jintana Suksamran Science Experiences Management for Early Chidhood
Date : Fri. 21 November 2014
Teaching time 1.10 PM. - 3.40 PM
Knowledge
จัดประเภทสื่อวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆประดิษฐ์
ประเภทแรงดันน้ำ
ประเภทแรงโน้มท่วง
ประเภทเสียง
ประเภทแรงดันอากาศ - ลม
ประเภทการสะสมพลังงาน
เพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู
วิจัยวิทยาศาสตร์
คนที่ 1 เรื่องผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่2 ( ศรีนวล ศรีอ่า )
การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นการจัดการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การปฏิบัติด้วยตนเองประกอบด้วยอุปกรณ์ที่เป็นของจริง รูปภาพต่างๆ ที่น่าสนใจและมีคาถามที่นาไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สาหรับเด็กปฐมวัย ในด้านทักษะการสังเกต การจาแนกประเภท การวัด การลงความเห็น และการหา
ความสัมพันธ์ระหว่างมิติ
คนที่ 2 เรื่องการพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล2
เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและนำไปทดสอบวัดผลก่อนและหลังเพื่อเปรียบเทียบคะแนน
คนที่ 3 เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ( สุมาลี หมวดไธสง ) ( Full Text )
การมุ่งศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เพื่อส่งเสริมทักษะในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยในการการสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ
การจัดหมวดหมู่และการหาความสัมพันธ์จากการได้มาเรียนรู้นอกห้องเรียน
ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สำรวจ หรือทดสอบด้วยตนเอง
คนที่ 4 เรื่องพัฒนาศักยภาพพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
( วณิชชา สิทธิพล ) (Full Text)
การจัดให้เด้กปฐมวัยมีประสบการณ์ตรงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรให้เด็กได้ใช้สื่อ อุปกรณ์ ของจริงที่หลากหลาย โดยเน้นทักษะการสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมายข้อมูลและการลงมือปฎิบัติจริงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
คนที่ 5 เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ( ศศิพรรณ สำแดงเดช ) ( Full Text )
การที่เด็กได้ฟังนิทานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพ หุ่นประกอบการเล่าเพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทำกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจำแนกประเภทและการสื่อสาร โดยบรรยายผลการสังเกตซึ่งเป็นการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
Thai Teacher TV
คนที่ 6 โทรทัศน์ครู ตอนส่องนก ดู VDO
ครูพาเด็กๆไปเที่ยวป่าแล้วแบ่งเด็กเป็นกลุ่มให้เด็กออกไปสำรวจนกโดยอยู่ในบริเวณที่ครูกำหนด ให้เด็กๆได้สังเกตสิ่งต่างๆในป่า และนกแต่ละชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าว่าเป็นอย่างไรและความความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
คนที่ 7 โทรทัศน์ครู สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์ ดู VDO
การจัดการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยได้ลงมือทดลองด้วยตนเอง ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ของเด็ก ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ ความรับผิดชอบ การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ โดยครูมีหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการทดลอง
คนที่ 8 โทรทัศน์ครู จุดประกายนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย ดูVDO
การเรียนรู้เรื่องเสียง การกำเนิดเสียง และการเดินทางของเสียง ผ่านกิจกรรมที่ครูจัดขึ้นภายในห้องและสื่อที่ครูนำมาประกอบการสอนที่เด็กให้ความสนใจ
กิจกรรม Cooking
Waffle
Evaluation
Self : วันนี้รู้สึกตื่นเต้นกับการออกไปนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรียนแต่ก็สามารถตอบคำถามที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับงานวิจัยได้เนื่องจากเตรียมเอกสารและทำความเข้าใจกับวิจัยมาเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนออกมานำเสนอ เพราะเนื่องจากเป็นความรู้ที่เราควรรู้เพื่อนำไปปรับใช้ในการสอนของตนเอง สนุกสนานกับการทำ Cooking พร้อมทั้งได้ความรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์
Friend : เพื่อนๆออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูที่น่าสนใจและเ)็นเรื่องที่เรานำมาใช้ได้จริงเพราะเพื่อนบอกถึงวิธีการดำเนินการอย่างละเอียดว่ามีขั้นตอนใดบ้างเพื่อให้เรานำไปใช้ได้ง่ายขึ้น
Teacher : อาจารย์เตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการทำCooking มาให้นักศึกษาได้้ครบถ้วนเพื่อนักศึกษาจะได้ลงมือปฏิบัติเอง และยังใช้คำถามต่างๆเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการสังเกต ขณะที่ลงมือปฏิบัติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)