บันทึกอนุทิน
Science Experiences Management for Early Chidhood
By. Teacher Jintana Suksamran
Date : Fri.5 September 2014
Teaching time 1.10 PM. - 3.40 PM
Knowledge...
กิจกรรมในห้องเรียน เพื่อนนำเสนอบทความ
การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ 2 – 6 ขวบ ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ (pre – operative stage) เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง (self - centered) และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน เช่น รู้สี รู้รูปร่าง โดยรู้ทีละอย่าง จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้ หรือเอามาผนวกกันไม่ได้ ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต ค้นหา ให้เหตุผล หรือทดลองด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การค้นคว้าหาคำตอบ การให้เหตุผล ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต การจำ และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้ ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง
นอกจากกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในระดับประถมศึกษาแล้ว
Mad Science ยังจัดกิจกรรมซึ่งมีความหลากหลายสำหรับเด็กในระดับอนุบาลโดยทุกๆกิจกรรม
จะแฝงด้วยความสนุกสนานและสาระโดยจัดเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ในเวลาเรียนปกติครั้งละประมาณ 30 นาที
เพื่อเสริมทักษะด้านการสังเกตและทักษะอื่นๆทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมคิดและปฏิบัติ
ทั้งนี้ Mad Science จะเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์และผู้สอนทั้งหมด
ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล
ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา
อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS สนุกกับการทายเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต
เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง
การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสีด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา
และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจากแบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี
ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการมองผ่าน “ แว่นขยาย ”
KEEP IN TOUCH เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็นอันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน
และเดินทางผ่านอากาศในรูปของคลื่น
สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนต์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ
แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่านกระดาษสีต่างๆ
ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบสุริยะจักรวาล
เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย
การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำได้ดีกว่ากัน
สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย
พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ
จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ควรจะให้เด็ก ๆ
อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง
และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด
เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น
ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ
แนวทางในการ
"สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้
1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองเช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง
ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ
เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์
หรือในด้านของเหตุและผล
4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน
ๆ
5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า
ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้
อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย
หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์
แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ แต่อย่างใด
Things that need to be developed..
การนำความรู้ที่ได้มาสรุปความรู้เป็น Mind Mapping เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการคิดและตุ้นการตอบคำถาม
Techniques For Teaching
อาจารยใช้สื่อ Power Point ประกอบเรียนการสอน ใช้ในการบรรยาย และให้นักศึกษามีส่วมร่วมในการตอบคำถาม
Evaluation..
Self : มีความมีความตั้งใจในการเรียน ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์บรรยายอาจารย์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ร่วมตอบคำถามของอาจารย์
Friends : เพื่อนๆในห้องต่างส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย และตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยายและฟังเพื่อนที่นำเสนอบทความ
Teacher : อาจารย์ได้มีเทคนิคในการสอนโดยการใช้รูปภาพเป็นสื่อ และใช้ โปรแกรม Power Point ในการสอน พร้อมทั้งมีการยกตัวอย่าง ให้นักศึกษาได้เข้าใจไดง่ายขึ้น