Knowledge...
กิจกรรมในห้องเรียน : ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
1.แกนกระดาษทิชชู 2.เชือกไหมพรม 3.กาว 4.กรรไกร 5.สีต่างๆ 6.ตุ๊ดตู่ 7.กระดาษ
วิธีทำ
1. ตัดแกนกระดาษทิชชูแบ่งครึ่งเท่าๆกัน
2. เจาะรูกึ่งกลางแกนทิชชูทั้ง2ด้าน แล้วสอดไหมพรมผ่านทั้ง 2 รู
3. จากนั้นวาดรูปวงกลมแล้ววาดในวงกลมตามใจชอบ
4. ตัดกระดาษตามวงกลมที่วาดไว้แล้วนำประติดกับแกนทิชชูด้านใดด้านหนุึ่ง
6. จากนั้นเอามาคร้องคอ ดึงขึ้นดึงลง ก็จะได้เสือวิ่งขึ้นวิ่งลง
เพื่อนนำเสนอบทความ ดังนี้
การเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยวิธีการทำเครื่องดื่มสมุนไพร เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะพื้นฐานง่ายๆสำหรับเด็กคือเด็กได้ลงมือปฎิบัติเอง ได้สังเกต ทดลอง และดูการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยตนเอง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็นและแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
3. เรื่องสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้นดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึด
ติดกับพิื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้
การจัดกิจกรรมเรื่องแรงโน้มถ่วง ครูจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้และสนใจโดยการคำนึงถึงจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาเด็กให้เกิดสิ่งสำคัญคือ เกิดความรู้ ความเข้าใจในข้อความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เด็กจะมีความเฉลียวฉลาดที่จะเห็นความสัมพันธ์ของธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว มีความคิดที่จะแก้ปัญหา เกิดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เช่น เกิดความสนใจและความชื่นชอบในสาระความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งการตระหนักรู้ถึงคุณค่าและโทษของแรงโน้มถ่วงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำความรู้ไปใช้ที่จะดูแลรักษาตนเองได้ตามวัย ส่วนสาระสำ คัญที่ครูกำหนดให้เด็กได้รับ คือ แรงโน้มถ่วงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่าง โดยมีคำถามสร้างความสนใจในการสืบค้นความรู้
การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
Things that need to be developed..
การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ที่นำไปประกอบการสอนวิทยาศาสตรฺสำหรับเด็กปฐมวัยที่ง่ายและเด็กสามารถทำเองได้ด้วยตนเอง ทำให้ไม่อยากเกินไปสำหรับเด็กที่จะเข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
Techniques for teaching..
อาจารย์สอนด้วย วิธีการสาธิตในการทำสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก และให้ลงกระปฎิบัติเอง และใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิด พร้อมทั้งใช้โปรแกรม Power point ประกอบการสอน
Evaluation..
- Self : มีความตื่นเต้นในการประดิษฐ์สื่อมากเนื่องจากไม่เคยทำมาก่อน และตั้งใจในการประดิษฐ์สื่อตามขั้นตอนที่อาจารย์สาธิต
- Friend : ให้ความร่วมมือในการประดิษฐ์สื่อ และร่วมแสดงความคิดเห็นในคำถามที่อาจารย์ถาม เพื่อนมีทั้งคนที่ตั้งใจฟังและไม่สนใจในบทความที่เพื่อนออกมานำเสนอบทความ
- Teacher : เตรียมอุปกรณ์ในการทำสื่อมาให้นักศึกษาอย่างครบถ้วนเพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือทำทุกคนและระหว่าการทำก็มีการใช้คำถามเพื่อฝึกการคิดของนักศึกษา